เมนู

ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร นี้ ก็เป็นคำแสดงเพียงสักว่า ความไม่มีแห่งวิตกและวิจาร
เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ตรัสคำต้นแล้ว ก็ควรตรัส
คำหลังอีก.
บทว่า สมาธิชํ ความว่า เกิดจากปฐมฌานสมาธิ หรือจากสมาธิที่
สัมปยุตกัน. ในพระบาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทุติยฌานนี้เท่านั้นว่า
เกิดจากสมาธิ เพื่อสรรเสริญทุติยฌานนี้ เพราะถึงแม้ปฐมฌาน จะเกิดจาก
สมาธิที่สัมปยุต แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น สมาธินี้เท่านั้น ควรเรียกได้ว่า สมาธิ
เพราะเป็นสมาธิที่ไม่หวั่นไหวและผ่องใสอย่างยิ่ง เหตุเว้นจากความกระเพื่อม
แห่งวิตกวิจาร.
คำว่า ปีติสุขํ นี้ มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นเอง.
บทว่า ทุติยํ คือเป็นที่ 2 โดยลำดับแห่งการคำนวณ. ฌานนี้ชื่อว่า
ที่ 2 เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรบรรลุเป็นครั้งที่ 2 ดังนี้บ้าง.

[ปฐมฌานมีองค์ 5 ทุติยฌานมีองค์ 3]


ก็ในคำว่า ฌานํ นี้ พึงทราบว่า ปฐมฌานมีองค์ 5 เพราะองค์
ทั้งหลายมีวิตกเป็นต้น ฉันใด, ทุติยฌานนี้ ก็มีองค์ 4 เพราะองค์ทั้งหลาย
มีสัมปสาทะเป็นต้น ฉันนั้น. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
สัมปสาทะ (ความผ่องใส) ปีติ (ความอิ่มใจ) สุข (ความสบายใจ) เอกัคคตา
แห่งจิต ชื่อว่า ฌาน1 อันนั้นเป็นนัยทางอ้อมเท่านั้น. แต่โดยนัยทางตรง
ทุติยฌานนั่น เว้นองค์คือสัมปสาทะเสียแล้ว มีเพียงองค์ 3 เท่านั้น. เหมือน
อย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ฌานมีองค์ 3 คือ ปีติ สุข เอกัคคตา
แห่งจิต มีอยู่ในสมัยนั้น เป็นไฉน2 ? คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั้นแล.
กถาว่าด้วยทุติยฌาน จบ
1. อภิ. วิ. 35 / 349. 2. อภิ. วิ. 35 / 356.